โครงสร้างการจัด
โครงสร้างการจัดหน่วย
การบริหารจัดการในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แบ่งเป็น 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
1. ฝ่ายบริหาร
ได้แก่ ผู้บังคับบัญชารับผิดชดชอบดำเนินงานของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประกอบด้วย
1) ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2) รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2. ฝ่ายนโยบายและแผน |
1. | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | เป็นประธาน |
2. | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | เป็นรองประธาน |
3. | เสนาธิการทหาร | เป็นกรรมการ |
4. | เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ตามที่ได้ตกลงกับสำนักนายกรัฐมนตรี) |
เป็นกรรมการ |
5. | เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ตามที่ได้ตกลงกับสำนักนายกรัฐมนตรี) |
เป็นกรรมการ |
6. | ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | เป็นกรรมการ |
7. | ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | เป็นกรรมการ |
8. | รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (ทำหน้าที่ด้านการบริหาร) |
เป็นกรรมการ |
9. | ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานสภา วปอ. แต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 9 คน โดยให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีการศึกษา |
เป็นกรรมการ |
10. | รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (ทำหน้าที่ด้านวิชาการ) |
เป็นกรรมการและเลขานุการ |
11. | ผู้อำนวยการกองพัฒนาการศึกษา วปอ.สปท. | เป็นผู้ช่วยเลขานุการ |
2.2 คณะกรรมการการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องประเทศ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) พิจารณาและจัดทำโครงการศึกษาและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ให้เป็นไปตามนโยบายของสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
(2) กำกับดูแลการบริหารการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ให้เป็นไปตามที่สภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้มอบหมาย
(3) พิจารณาจัดทำรายละเอียดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา การคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษา ระยะเวลาศึกษา ตลอดจนคุณวุฒิ ศักดิ์และสิทธิ์ และหลักสูตรการศึกษาของหลักสูตรอื่น ๆ เสนอสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เพื่ออนุมัติตามความเหมาะสมของหลักสูตรนั้น ๆ
(4) เสนอแนะการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะกรรมการการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องประเทศ
ประกอบด้วย
1. | ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | เป็นประธานกรรมการ |
2. | รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | เป็นรองประธานกรรมการ |
3. | ผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ | เป็นรองประธานกรรมการ |
4. | รองผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (1) | เป็นรองประธานกรรมการ |
5. | รองผู้อำนวยการสำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (2) | |
6. | ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความมั่นคง สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
7. | ผู้อำนวยการกองการเมืองและการทหาร สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชแะลอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
8. | ผู้อำนวยการกองการเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
9. | ผู้อำนวยการกองการเมืองและการทหาร สำนักวิทยาการความมั่นคง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
10. | ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
11. | ผู้อำนวยการกองอำนวยการ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
12. | ผู้อำนวยการกองเอกสารวิจัย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการ |
13. | ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประธานกรรมการการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 6 คน โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 1 ปีการศึกษา |
เป็นกรรมการ |
14. | ผู้อำนวยการกองพัฒนาการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นกรรมการและเลขานุการ |
15. | รองผู้อำนวยการกองพัฒนาการศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร | เป็นผู้ช่วยเลขานุการ |
3. ฝ่ายอำนวยการ
หน่วยงานระดับกองที่มีหน้าที่อำนวยการศึกษาและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย
1) กองอำนวยการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป การธุรการเกี่ยวกับการศึกษา และอุปกรณ์การศึกษา การห้องสมุด การสารบรรณ การรักษาความปลอดภัย การกำลังพล การบริการ และการเงินของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
2) กองพัฒนาการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบ และประสานในเรื่องของการวางแผน การจัดการ และการบริหารในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการศึกษา ตลอดจนการประสานงานกับนักศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการศึกษาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. ฝ่ายวิชาการ
หน่วยงานระดับกอง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทางด้านวิชาการในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วยกองวิชาการที่จัดตั้งตามอัตรา 5 กอง คือ
1) กองยุทธศาสตร์ และความมั่นคง (กย.) มีหน้าที่ มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับศิลป์และศาสตร์ในการพัฒนา และการใช้พลังของชาติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และกำลังทหาร ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม รวมทั้งประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านยุทธศาสตร์
2) กองการเมืองและการทหาร (กมท.)มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางการเมือง สนธิสัญญาต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตลอดจนนโยบายและพลังทางการเมืองของประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านการเมือง และมีหน้าที่ ให้การศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางการทหาร นโยบายการทหาร ยุทธศาสตร์ และพลังทางทหารทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการทหารของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านการทหาร
3) กองการเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา (กศส.) มีหน้าที่ ให้การศึกษาเกี่ยวกับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ และพลังทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการเศรษฐกิจของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาตินอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านเศรษฐกิจ และ มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางสังคมและจิตวิทยา ความสัมพันธ์ และพลังทางสังคมจิตวิทยาของประเทศไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางการสังคมจิตวิทยาของนักศึกษาเพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาตินอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านสังคมจิตวิทยา
4) กองวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (กวท.) มีหน้าที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์และพลังอำนาจทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งประมวลความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงานและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา เพื่อพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นอกจากนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการเขียนเอกสารวิจัย ตรวจแก้ และประเมินผลเอกสารวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีฯ
5) กองเอกสารวิจัย และห้องสมุด (กอส.) มีหน้าที่ให้การศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารวิจัยส่วนบุคคล กำหนดขั้นตอน รายละเอียด รูปแบบการอ้างอิง และหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เกี่ยวกับการเขียนเอกสารวิจัยส่วนบุคคล ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำชื่อเรื่อง เค้าโครงเรื่อง และในการดำเนินการวิจัย ประสานหน่วยงายภายนอกเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องเพื่อการวิจัย และข้อมูลการวิจัย ตรวจแก้ และแจกจ่ายเอกสารวิจัยฯ ประเมินการเขียนเอกสารวิจัยฯและให้บริการข้อมูลสารสนเทศ
................................................