การบรรยายพิเศษ โดย ผบ.ทสส. ในหัวข้อ Strategic Competitionin Indo-Pacific

การบรรยายพิเศษ โดย ผบ.ทสส. ในหัวข้อ "Strategic Competitionin Indo-Pacific" และการเสวนากับผู้แทน นศ.วปอ. รุ่นที่ 67 จาก สนผ.กห. กต. และ บ.ปูนซีเมนต์ไทย จก. (มหาชน) เรื่อง “จุดยืนและผลประโยชน์ของไทยในสภาวะการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ของชาติมหาอำนาจ” เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค.67 เวลา 1300-1600 ณ หอประชุม วปอ.ฯ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้

 -  ส่วนที่ 1 การบรรยายโดย ผบ.ทสส.
1. ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่สำคัญครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ เป็นเส้นทางคมนาคมหลักของโลกในการขนส่งสินค้า

2. การแข่งขันของประเทศมหาอำนาจส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงในภูมิภาค สหรัฐฯ ยกระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเพื่อผลประโยชน์การคงตำแหน่งผู้นำการจัดระเบียบโลก ขับเคลื่อนความมั่งคั่ง และสร้างความมั่นคงพร้อมรับมือต่อภัยคุกคามในอนาคต มองภูมิภาคนี้เป็นหนึ่งเดียวคือ Pacific Nation ส่วน สปจ. ยังคงต้องการให้มีหลายขั้วในโลก และเคารพอธิปไตยซึ่งกันและกัน โดยมียุทธศาสตร์ปฏิรูปกองทัพใน ค.ศ.2049 ให้เป็น World Class Forces และเน้น Mind Dominance กับการมีกองเรือที่ยิ่งใหญ่

3. ท่าทีกองทัพไทยจะต้องเป็นกลาง เน้นสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับมิตรประเทศ แม้จะมีการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ (Competition) แต่ป้องปราม (Deter) ให้ไม่ก้าวล่วงไปถึงวิกฤต (Crisis)

 - ส่วนที่ 2 การเสวนาฯ
1. มุมมองจาก กต. - สปจ. เป็นประเทศเดียวที่มีศักยภาพในการท้าทายสหรัฐฯ แต่อาจจะยังมีขีดความสามารถไม่เพียงพอในการท้าทายมิติความมั่นคง จึงยังมองสหรัฐฯ อย่างระมัดระวัง ไทยต้องจัดการความสัมพันธ์ให้ดี หากความสัมพันธ์ระหว่างชาติมหาอำนาจดี ไทยจะได้ประโยชน์ ไทยจึงควรดำเนินความสัมพันธ์ 4B คือ (1) Bridge Builder (2) Build Direct Dialogue (3) Build Partnership (4) Build Network

2. มุมมองจากภาคธุรกิจ - สปจ. เน้นการส่งออกมายังภูมิภาค อช.ตอ./ต. แต่ไทยไม่มีมาตรการปกป้องผู้ประกอบการภายในประเทศที่เข้มแข็งพอ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ GDP ของไทยเอง จึงควรมีมาตรการตรวจสอบการนำเข้าสินค้า และปกป้องผู้ประกอบการในไทย เพื่อไม่ให้ SME ได้รับผลกระทบอย่างที่เป็นอยู่ รวมถึงการเข้าสู่ Aging Competition ไทยควรแสวงโอกาสในจุดนี้ เพราะไทยโดดเด่นเรื่องงานบริการ และ Skilled Labor รวมถึงไทยลดความน่าแข่งขันเชิงเศรษฐกิจในเวทีโลกไปมาก เนื่องจากราคาพลังงานสูง ตลาดไทยไม่สามารถเป็น part of supply chain ได้ง่ายเหมือนในอดีต การส่งออกไปประเทศที่ 3 ยากขึ้น

3. มุมมองจาก สนผ.กห. - นโยบาย Trump 2.0 ยังดำเนินต่อเนื่องเรื่อง American First เน้นการป้องกันประเทศ การขายอาวุธ การเตรียมกำลังทหารกับพันธมิตร และการจัดระเบียบภายใน กห.สหรัฐฯ รวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจมีการเผชิญหน้ามากขึ้น ซึ่งสำหรับไทยแล้ว ในด้านการทหาร ไม่เกิดผลกระทบที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมีแผนกิจกรรมความร่วมมือยาวนาน 3-10 ปี ในส่วนของไทยเราควรดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงจากภายในสู่ภายนอกคือ การพัฒนากองทัพ ความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ชาติสมาชิกอาเซียน และ มหาอำนาจ โดยเน้นให้อาเซียนเป็นแกนกลาง และไทยแสดงบทบาทนำในอาเซียน


- Key Issues ที่สามารถนำไปประกอบการศึกษาต่อไป : แนวทางด้านความมั่นคง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ ต้องมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกัน โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงของมหาอำนาจต่อไทย จีน เน้นการเชื่อมโยงทางการค้า และวัฒนธรรม ส่วนสหรัฐฯ เน้นด้านความมั่นคงมากกว่า ไทยจึงต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่ต่างกัน และใช้เวทีอาเซียนให้เกิดประโยชน์ในทุกยุทธศาสตร์

- ผลการปฏิบัติ : เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นศ.ฯ ให้ความสนใจ มีการสอบถามมุมมองความคิดเห็นเพิ่มเติมจาก ผบ.ทสส. และผู้เข้าร่วมเสวนาฯ

Visitors: 564,466