การเสวนา หลักสูตร วปอ.บอ.2

การเสวนาหลักสูตร วปอ.บอ.2
*วิชา บพ. 1.9 “ รั้วของชาติ ”: กองทัพไทยกับการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางอาณาเขต วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 13:00-15:00 หอประชุม วปอ.
โดยมีผู้บรรยาย ได้แก่ พล.ร.ต.จักษวัฏ สายวงศ์ ผอ.สนผ.ยก.ทร. และ พล.ต.อดิศร จรัส ผอ.สนผ.ยก.ทหาร
- นำเสนอเกี่ยวกับกองทัพเรือกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับความสำคัญของทะเล, สถานการณ์โลก ภูมิภาคและในประเทศ, ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ, บทบาทกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล,การพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพเรือ และแผนงานที่สำคัญของกองทัพเรือในอนาคต
- นิยามและความท้าทายด้านความมั่นคงแห่งชาติรวมถึงยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยเน้นที่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนความร่วมมือทางทหารกับมิตรประเทศ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการพัฒนากองทัพไทยเพื่อรับมือภัยคุกคามต่างๆซึ่งรวมถึงภัยคุกคามทางทหารและภัยพิบัติและนำเสนอแนวคิดในการบริหารจัดการภัยพิบัติของกองทัพไทย

*วิชา บพ. 1.8 ยุทธศาสตร์และการจัดการความมั่นคงของประเทศไทย เวลา 15:00-17:00 หอประชุม วปอ.
ผู้บรรยาย : พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ และ นางสาว ลือจิต ถิ่นพังงา ผอ.กองความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

- ศอ.บต. มีภารกิจหลักในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกลไกการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ศอ.บต.ขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยมี 4 ประเด็น
สำคัญในการขับเคลื่อน ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม การอำนวยความยุติธรรมและการเยียวยา และการสนับสนุนการแสวงหาทางออกโดยสันติวิธี

- ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง: อ้างอิงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560, ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) มีวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และมี 6 ด้านหลักยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายเพื่อให้“ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข” โดยมีเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลา (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่ชัดเจนมีการถ่ายทอดแผน 3 ระดับในมิติความมั่นคง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ, แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิบัติการด้านต่างๆ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570)

*วิชา บพ. 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับความมั่นคง เวลา 18:00-20:00 หอประชุม วปอ.
ผู้บรรยาย : ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและความมั่นคง

- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีอิทธิพลอย่างมากต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในโลกที่มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยภายนอก ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของไทย
ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติ และการมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงร่วมกัน เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติ และความมั่นคงทางทะเล รัฐบาลต้องมีความเข้าใจในพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อกำหนดนโยบายและตัดสินใจที่เหมาะสม ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ

Visitors: 702,892