การบรรยายหัวข้อวิชา โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

วันที่ 10 เม.ย. 68 เวลา 1030-1200 การบรรยายในหัวข้อวิชา (7-10) โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดย นายชยธรรม์ พรหมศร (วปอ.56) ปลัดกระทรวงคมนาคม

-  ปัญหาคมนาคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่
1. มิติทางถนน : การจราจรติดขัด, อุบัติเหตุ, ฝุ่น , ต้นทุนโลจิสติกส์สูง
2. มิติทางราง : โครงข่ายยังไม่ครอบคลุม, ความไม่สะดวกและแออัด, การเข้าถึงของคนทุกคน, การเดินรถล่าช้า, จุดเชื่อมต่อไม่สะดวก
3. มิติทางน้ำ: ความแออัดของท่าเรือสาธารณะ, การจราจรติดขัด/ความแออัดของท่าเรือ
4 มิติทางอากาศ : ความแออัดของผู้โดยสาร, ความแออัดของ Runway

* ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะ 20 ปี มีเป้าหมาย คือ
- สะดวก สะอาด
- ปลอดภัย
- รวดเร็ว ตรงเวลา
- ราคาประหยัด
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เข้าถึงง่ายสำหรับคนทุกกลุ่ม
- ลดต้นทุนโลจิสติกส์

* ทิศทางการพัฒนาคมนาคมไทย
- ในเมือง
- ระหว่างเมือง
- เชื่อมภูมิภาค
- เชื่อมได้ทั่วโลก
ตัวอย่าง เช่น
- ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นระบบขนส่งสาธารณะ
- พัฒนาระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
- พัฒนาระบบ Feeder เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางทั้งทางน้ำและทางบก
- สร้างความสะดวกในการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ
- พัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ-ราง-เรือ
- พัฒนา Smart Pier และเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า EV Boat
- พัฒนารถไฟทางคู่

* (Key Issues) ที่จะนำไปประกอบการศึกษาต่อไป : ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบขนส่งอย่างบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ยั่งยืน

Visitors: 713,946