การบรรยายหัวข้อวิชา การจัดการความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจ

วันที่ 10 เม.ย. 68 เวลา 1300-1430 การบรรยายในหัวข้อวิชา (7-8) การจัดการความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดย นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (วปอ.66) อธิบดีกรมธนารักษ์

เศรษฐกิจโลกในปี 2568 เกิดการผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจโลกและไทย โดยเฉพาะการขึ้นภาษีนำเข้าทำให้เศรษฐกิจโดยรวมอาจมีแนวโน้มเติบโตช้าลง

* เป้าหมายนโยบายเศรษฐกิจกับวิกฤติเศรษฐกิจ ได้แก่
1.การรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)
2. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability)
- เสถียรภาพภายนอกประเทศ
- เสถียรภาพด้านการเงิน
- เสถียรภาพภายในประเทศ
- เสถียรภาพด้านการคลัง
3. การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Resource Allocation)
4. การกระจายรายได้และทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม (Equitable Income and Wealth Distribution)

* สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและแนวโน้ม
1. คาดว่าจะเติบโตช้าลงกว่าปี 2567 เนื่องจากปัญหาด้านสงครามการค้าและการส่งออกที่ลดลง
2. รายได้จากนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
3. การบริโภคจากภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากกำลังซื้อที่ลดลง หนี้ครัวเรือนอยู่ระดับสูงและทิศทางสินเชื่อที่โตช้าลง

* การจัดการความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจ
1. แบบหดตัว เป็นการลดความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ทำให้รายได้ประชาชนลดลง โดยจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบเกินดุล และจัดเก็บภาษีมากขึ้น
2. แบบขยายตัว เป็นการเพิ่มความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศ ทำให้รายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล และลดภาษี


* (Key Issues) ที่จะนำไปประกอบการศึกษาต่อไป :
ภายใต้วิกฤตกำแพงภาษี
ที่เกิดขึ้น ประเทศไทยควรมอง
หาโอกาสในการต่อรอง เจรจาจาก ข้อตกลงการค้าเสรี และสัญญา อย่างเป็นทางการกับประเทศต่างๆที่ถูกยกเลิกไปด้วยจากวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้

Visitors: 713,951